วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา การพบกลุ่มครั้งที่ 6 เรื่องเทศโนโลยีชีวถาพ และระบบนิเวศ

เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์สอน ในเรื่องระบบนิเวศ และเทคโนโลยีชีวภาพ
โดยเนื้อหาดังนี้
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นความรู้หรือวิชาการที่สามารถนำสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตมาใช้ หรือมาปรับเปลี่ยนและประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ ในบ้านเรามีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมานานแล้ว ตั้งแต่ยังไม่มีการติดต่อกับตะวันตกด้วยซ้ำ การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร หมักเหล้า ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เช่นเดียวกับการปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ ให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น หรือการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดีปัจจุบันเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพ เรามักหมายถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชาผสมผสานกันอยู่ ตั้งแต่ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี ไปจนถึงฟิสิกส์ และวิศวกรรม อาจเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์


ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ?

การขยายและการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

การนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูปเป็นอาหารหรือยา

กระบวนการที่ใช้แปรรูปปผลผลิตดังกล่าวในระดับโรงงาน

กระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิต เช่น จุลชีพ ในการบำบัดน้ำเสีย และรักษาสภาพแวดล้อม

การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปทำปุ๋ย

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1. การตัดต่อยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และเทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular markers)
2. การเพาะเลี้ยงเซลล์ และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (cell and tissue culturing) พืช และสัตว์
3. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์บางชนิดหรือใช้ประโยชน์จากเอนไซน์ของจุลินทรีย์
ใบงาน ครั้งที่ ๖ เรื่องระบบนิเวศ และ เทคโนโยลีชีวภาพ
คำสั่ง จงตอบคำถามให้ถูกต้งสมบูรณ์


1. ระบบนิเวศ หมายถึง .............................................................................................................................

.................................................................................................................................................................

กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง ............................................................................................................................

แหล่งที่อ ยู่อาศัย หมายถึง .....................................................................................................................

2. เขียนสรุปเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่ความคิด

3. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มมีชีวิตต่อไปนี้

3.1 ภาวะอิงอาศัย หมายถึง .................................................................................................

3.2 ภาวะการล่าเหยื่อ หมายถึง.................................................................................................
3.3 ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน หมายถึง...........................................................................................
3.4 ภาะการย่อยสลาย หมายถึง ...........................................................................................................
3.5 ภาวะพึ่งพึง หมายถึง ....................................................................................................................
3.6 ภาวะปราสิต หมายถึง ....................................................................................................................

ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่องการหมุนเวียนสาร

คำสั่ง ตอบคำถามให้สมบูรณ์

1. การหมุนเวียนสาร หมายถึง ......................................................................................................... ..
 มีอะไรบ้าง............................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2. ให้ใส่เครื่องหมาย / หน้าข้อที่ ถูก และX หน้าข้อที่ผิด

...........2.1 ผู้ย่อยสลายอินทรีย์ เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนไนโตรเจน

...........2.2 พืชสามารถใช้ไนโตรเจนอิศระจากอากาศได้โดยตรง

...........2.3 พืชและสัตว์ไม่เกี่ยวกับการหมุนเวียนน้ำ

...........2.4 ก๊าสคาร์บอนไดออกไซค์ ที่เกิดจากการบวนการหายใจของสัตว์ พืชจะนำมาสังเคราะห์แสง

...........2.5 ออกชิเจน จำเป็นต่อการหายใจของสัตว์เท่านั้น

.......... 2.6 แบคทีเรียในรากพืชตระกูลถั่วสามารถใช้ในโตรเจนอิสระได้

............2.7 การหายใจของสิ่งมีชีวิต การเผาไหม้ เชื้อเพลิง การย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดก๊าส

คาบอนไดออกไซค์

……………2.8 การลำดับการหมุนเวียนของน้ำ คือ การควบแน่น – การละเหย - การเกิดฝน

……………2.9 ดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งสำคัญของการเกิดหมุนเวียนของน้ำ

................2.10 สาเหตุของการหมุนเวียนแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ คือพืช และสัตว์เท่านั้น


แบบประเมินการเรียนรู้หลังเรียน

เรื่อง ระบบนิเวศ

1. คำสั่ง นำข้อความตัวอักษร A – F ด้านขวามือไว้หน้าข้อให้ถูกต้อง

…….1 เห็บเกาะกินเลือดสุนัข                         A       ภาวะปราสิต

.......2. พยาธิในตับมนุษย์                              B       ภาวะการล่าเหยื่อ

.......3. แบคทีเรียย่อยซากสัตว์                      C       ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน

........4. ปลาฉลามกับเหาฉลาม                     D       ภาวะการย่อยสลาย

........5. นกเอี้ยงบนหลังควาย                        E       ภาวะการพึ่งพึงกัน

........6. ผึ้งดูดน้ำหวานจากดอกไม้                F       ภาวะอิงอาศัย    

........7. เสือไล่จับกวาง

.........8. แบคที่เรียในรากถั่ว

........9. ยุงดูดเลือดมนุษย์

.......10. กล้วยไม้เกาะต้นไม้

2. เรียงลำดับ ห่วงโซ่อาหาร ให้ถูกต้องใส่ในกล่องด้านขวามือ

2.1 ข้าว หนู ตั๊กแตน  ....................    .......................   ......................
2.2 หนู ข้าว งูเห่า เหยี่ยว  ....................  .....................  ....................  .....................
2.3 หมาป่า หนู ต้นข้าว เหยี่ยว .................  .....................   ..................... 

3. ห่วงโช่อาหาร หมายถึง ..................................................................................................................


ใบกิจกรรม ที่ 1   เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ

คำสั่ง จงตอบคำถามให้ถูกต้อง

1. เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง .................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2. เทคโนโลยีชีวภาพ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย ......................................................................................

3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึงอะไร และมีกี่ขั้นตอน

4. การโคลน หมายถึง ................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................

5. บอกประโยชน์และโทษของการโคลนในช่องว่างด้านล่าง

    1.ประโยชน์                                    2.โทษ
..................................................          .................................................
.................................................           .................................................

กิจกรรมที่ 2  เลือกข้อความข้างบนแล้วเติมในช่องว่างด้านล่าง

พืชเศรษฐกิจ ปลอดเชื้อ อาหารสังเคราะห์ เนื้อเยื่อเจริญ แสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้น

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการนำ.............................มาเลี้ยงให้.............................ในสภาพที่...........................โดยมีการควบคุม....................... ............................ และ.............................ให้เหมาะสม นิยมทำใน.................. เพื่อขยายพันธ์พืชที่มีลักษณะดีอย่างรวดเร็ว

กิจกรรมที่ 3 พันธุวิศวกรรม

คำสั่ง จงตอบคำถามให้ถูกต้อง

1. พันธุวิศวกรรม หมายถึงอะไร พร้อมยกตัวอย่าง

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2. จงบอกประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

กิจกรรมที่ 4 นำวิธีการเทคโนโลยีชีวภาพด้านขวามาใส่หน้าข้อด้านซ้ายมือ

........1. การโคลนเคลลัส                                                                     A การโคลน

.........2. ได้พืชต้นใหม่จากการเลี้ยงในอาหารปลอดเชื้อ                       B การเพาะเนื้อเยื่อ

.........3. ใช้ขยายพันธุ์สัตว์ได้ตัวใหม่เหมือนเดิมทุกประการ                  C จี เอ็ม โอ

........4. ใช้วิธีพันธุวิศวกรรม

........5. แกะดอลลี่

........6. ใช้ขยายพันธุ์กล้วยไม้

........7. ออกชิน และไซโคชีน

........8. Genelically ModiFied Oganisism

.........9. นำนิวเครียสของเชลล์ร่างกายมาใส่แทนนิวเครียสไข่

........10. พืชต้านไวรัส





วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อการเรียนครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔

เซลล์ หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างและหน้าที่ประสานและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชิวิต
โครงสร้างของเชลล์ ประกอบด้วย ๑. เยื้อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ ๖๐ % และไขมัน ประมาณ ๔๐ % โปรตีนส่วนใหญ่รวมอยู่กับคาโบไฮเดรต และโปรตีนเมือกไขมันส่วนใหญ่จะเป็นฟอสโฟลิพิด และคลอเลสโตรอล การเรียงตัวเป็นเป็นสารประกอบเชิงซ้อน โดยมีลิพิด(ไขมัน)อยู่ตรงกลาง และโปรตีนหุ้มอยู่สองด้านชั้นของลิพิดจัดเรียงตัว

ในเพศชายมีโครโมโซมเพศหนึ่งแท่งขนาดใหญ่เรียกว่า โครโมโซม X และโครโมโซมเพศอีกแท่งหนึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่า โครโมโซม Y สัญลักษณ์เพศชายคือ XY ส่วนโครโมโซมเพศของเพศหญิงเป็นโครโมโซม X เหมือนกันทั้งคู่ สัญลักษณ์เพศหญิงคือ XX



ภายในนิวเคลียสของแต่ละเซลล์ประกอบเป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันหมดทุกเซลล์ เช่น ทุกๆ เซลล์ของร่างกายคนมีโครโมโซมจำนวน 46 แท่ง ส่วนในเซลล์สืบพันธุ์จะมีโครโมโซมเพียงครึ่งเดียวของเซลล์ร่างกาย
ข้อควรทราบ


โครโมโซมในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) เมื่อแบ่งเซลล์โครโมโซมแต่ละแท่งจะประกอบด้วยโครมาทิด 2 โครมาทิด (chromatid) ที่เหมือนกัน บริเวณที่โครมาทิดทั้งสองติดกันเรียกว่า เซนโทรเมียร์ (centromere)

การแบ่งเซลล์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีการสืบพันธุ์ เพื่อดำรงพันธุ์ไว้ตลอดไป ซึ่งการสืบพันธุ์มี 2 แบบ ดังแผนภูมิ

# การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การแตกหน่อ (budding) การสร้างสปอร์ (sporulation) การแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ชิ้นส่วนย่อยของร่างกายเดิมสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ได้ (fragmentation) รวมทั้งการปักชำ การติดตา การทาบกิ่ง การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้ต้องอาศัยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) ลูกหลานที่เกิดใหม่จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่เดิมทุกประการ
# การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์สร้างสเปิร์ม (spermatogenesis) และสร้างไข่ ส่วนในพืชจะสร้างละอองเรณู (microsporogenesis) และสร้างไข่ (megasporogenesis) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะต้องมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) ซึ่งจะมีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง เซลล์สืบพันธุ์จึงมีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่รวมกันจะทำให้ลูกที่เกิดมามีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม

เกรเกอร์ เมนเดล ได้ศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชและสนใจทางด้านพันธุกรรม เมนเดลได้ผสมพันธุ์ถั่วลันเตาเพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม


ลักษณะภายนอกของต้นถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษามีหลายลักษณะแต่เมนเดลนำมาศึกษาเพียง 7 ลักษณะ โดยแต่ละลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างชัด เช่น ต้นสูงกับต้นเตี้ย ลักษณะเมล็ดกลมกับเมล็ดขรุขระ เป็นต้น

ต้นถั่วที่เมนเดลนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ล้วนเป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ สายพันธุ์แท้นี้ได้จากการนำต้นถั่วแต่ละสายพันธุ์มาปลูกและผสมกันภายในดอกเดียวกัน เมื่อต้นถั่วออกฝักนำเมล็ดแก่ไปปลูกรอจนต้นถั่วเจริญเติบโต แล้วคัดเลือกต้นที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่มาผสมกันต่อไป ทำเช่นนี้ไปจนได้ต้นถั่วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อแม่ทุกประการ การที่เมนเดลคัดเลือกพันธุ์แท้ก่อนที่จะทำการผสมพันธุ์ ก็จะให้แน่ใจว่าแต่ละสายพันธุ์ที่ใช้ในการผสมพันธุ์มีลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก

เมนเดลได้ผสมพันธุ์ระหว่างต้นถั่วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะแตกต่างกัน 1 ลักษณะ เช่น ผสมต้นถั่วพันธุ์ดอกสีม่วงกับพันธุ์ดอกสีขาว
เกรเกอร์ เมนเดล ได้ศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชและสนใจทางด้านพันธุกรรม เมนเดลได้ผสมพันธุ์ถั่วลันเตาเพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม


ลักษณะภายนอกของต้นถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษามีหลายลักษณะแต่เมนเดลนำมาศึกษาเพียง 7 ลักษณะ โดยแต่ละลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างชัด เช่น ต้นสูงกับต้นเตี้ย ลักษณะเมล็ดกลมกับเมล็ดขรุขระ เป็นต้น

ต้นถั่วที่เมนเดลนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ล้วนเป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ สายพันธุ์แท้นี้ได้จากการนำต้นถั่วแต่ละสายพันธุ์มาปลูกและผสมกันภายในดอกเดียวกัน เมื่อต้นถั่วออกฝักนำเมล็ดแก่ไปปลูกรอจนต้นถั่วเจริญเติบโต แล้วคัดเลือกต้นที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่มาผสมกันต่อไป ทำเช่นนี้ไปจนได้ต้นถั่วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อแม่ทุกประการ การที่เมนเดลคัดเลือกพันธุ์แท้ก่อนที่จะทำการผสมพันธุ์ ก็จะให้แน่ใจว่าแต่ละสายพันธุ์ที่ใช้ในการผสมพันธุ์มีลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก

เมนเดลได้ผสมพันธุ์ระหว่างต้นถั่วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะแตกต่างกัน 1 ลักษณะ เช่น ผสมต้นถั่วพันธุ์ดอกสีม่วงกับพันธุ์ดอกสีขาว

เมนเดลได้ผสมพันธุ์ระหว่างต้นถั่วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะแตกต่างกัน 1 ลักษณะ เช่น ผสมต้นถั่วพันธุ์ดอกสีม่วงกับพันธุ์ดอกสีขาว ผลที่ได้ออกมา เป็นดังนี้

ลักษณะของพ่อแม่ที่ใช้ผสมพันธุ์ ลักษณะที่ปรากฏ


ลูกรุ่นที่ 1 ลูกรุ่นที่ 2

เมล็ดกลม x เมล็ดขรุขระ เมล็ดกลมทุกต้น เมล็ดกลม 5,474 เมล็ด

เมล็ดขรุขระ 1,850 เมล็ด

เมล็ดสีเหลือง x เมล็ดสีเขียว เมล็ดสีเหลืองทุกต้น เมล็ดสีเหลือง 6,022 ต้น

เมล็ดสีเขียว 2,001 ต้น

ฝักอวบ x ฝักแฟบ ฝักอวบทุกต้น ฝักอวบ 882 ต้น

ฝักแฟบ 229 ต้น

ฝักสีเขียว x ฝักสีเหลือง ฝักสีเขียวทุกต้น ฝักสีเขียว 428 ต้น

ฝักสีเหลือง 152 ต้น

ดอกเกิดที่ลำต้น xดอกเกิดที่ยอด ดอกเกิดที่ลำต้น ดอกเกิดที่ลำต้น 651 ต้น

ดอกเกิดที่ยอด 207 ต้น

ดอกสีม่วง x ดอกสีขาว ดอกสีม่วงทุกต้น ดอกสีม่วง 705 ต้น

ดอกสีขาว 224 ต้น

ต้นสูง x ต้นเตี้ย ต้นสูงทุกต้น ต้นสูง 787 ต้น

ต้นเตี้ย 277 ต้น


ใบประเมินความรู้มีประเด็นดังนี้
ประเมินการพบกลุ่มครั้งที่ ๕
 ๑.เรื่องเซลล์(cell)


จงตอบคำถามต่อไป

๑. เซลล์(cell)หมายถึงอะไรจง อธิบาย ...............................................................................................
๒. โครงสร้างพื้นฐาน ของเซลล์ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
...........................................................................................................................................................

๓. เซลล์สัตว์ มีส่วนไหนที่แตกต่างกับเชลล์พืช

๕. การแบ่งเซลล์ แบ่งได้ กี่แบบ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย


๖. การแบ่งเซลล์แบบไมโตชิส แบ่งได้กี่ระยะอะไรบ้าง จงอธิบาย
๗. อธิบายการแบ่งเชลล์ แบบ ไมโตซิส และ ไมโอซิส มีความแตกต่างกันอย่างไร


 ๒.เรื่องพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

๑. ยีน(Gen)หมายถึงอะไร มีกี่ชนิดอะไรบ้าง
๒. โคโมโซม หมายถึงอะไร

๓. ในร่างกายมนุษย์มีจำนวน โคโมโซม กี่..........คู่ และโคโมโซมเพศ มีซื่อเรียกว่าอะไร
๔. เกรเกอร์ เมนเดล(...................) คือใคร และศึกษาทดลองเรื่องอะไร และผลการทดลองเป็นอะไร
๕. มูเตชั่น(Mutation) หมายถึงอะไร ......................................................................................................

๖. อธิบายสาเหตุของการกลายพันธ์ว่าเกิดจากอะไร และมีประโยชน์อย่างไร และมีโทษอย่างไร

๗. จงแสดงแผนผังของการผสมพันธ์ต้นถั่ว ระหว่างต้นสูงกับต้นเตี้ย

งานที่มอบหมาย
แบ่งกลุ่มผู้เรียน เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่  1   จัดงานวิชาการ แสดงบทบาทสมมุติเรื่องการพูดต่อหน้าชุมชน เช่น การพูดอวยพรงานมงคลสมรส การพูดให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
กลุ่มที่ 2 จัดกิจกรรมวิชาการ เรื่อง การโต้วาที
โดยทุกกลุ่มต้องเขียนรายงานประชุมเขียนโครงการมานเสนอด้วย



องค์ประกอบของเซลล์
ถึงแม้เซลล์จะมีรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ต่างๆ กันออกไปก็ตาม แต่ต้องมีส่วนประกอบพื้นฐาน บางอย่างเหมือนๆ กัน ได้แก่
• 1. เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane หรือ cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้ม ของเหลวที่อยู่ภายใน โดยทั่วไปเยื่อหุ้มเซลล์ มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) ซึ่งยอมให้สารบางชนิด แพร่ผ่านเข้าออกได้
• 2. ของเหลวภายในเซลล์ ได้แก่ ส่วนที่เรียกว่า โปรโตปลาสซึม ของเหลวนี้ มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของนิวเคลียส และส่วนที่อยู่รอบนิวเคลียส เรียกว่า ไซโตรพลาสซึม ซึ่งแบ่งเป็น ส่วนที่มีชีวิต (organell) ส่วนที่ไม่มีชีวิต (inclusion)
เซลล์สัตว์
เซลล์ที่นำมาศึกษาโดยละเอียด ก็คือ เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
เซลล์พืช


การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ( mitosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หรือในการแบ่งเซลล์ เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช
• ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม ( 2n ไป 2n หรือ n ไป n )
• เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น
• พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด , ปลายราก , แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว , ไขกระดูกในสัตว์ , การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช
• มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส ( interphase), โพรเฟส ( prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส ( anaphase) และเทโลเฟส ( telophase)
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ( meiosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต โดยพบในอัณฑะ ( testes), รังไข่ ( ovary), และเป็นการแบ่ง เพื่อสร้างสปอร์ ( spore) ในพืช ซึ่งพบในอับละอองเรณู ( pollen sac) และอับสปอร์ ( sporangium) หรือโคน ( cone) หรือในออวุล ( ovule)
มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ - แม่ หรือรุ่นลูก - หลานก็ตาม
มี 2 ขั้นตอน คือ
1. ไมโอซิส I (Meiosis - I)
ไมโอซิส I (Meiosis - I) หรือ Reductional division ขั้นตอนนี้จะมีการแยก homologous chromosome ออกจากกันมี 5 ระยะย่อย คือ
• Interphase- I
• Prophase - I
• Metaphase - I
• Anaphase - I
• Telophase - I
2. ไมโอซิส II (Meiosis - II)
ไมโอซิส II (Meiosis - II) หรือ Equational division ขั้นตอนนี้จะมีการแยกโครมาทิด ออกจากกันมี 4 - 5 ระยะย่อย คือ
• Interphase - II
• Prophase - II
• Metaphase - II
• Anaphase - II
• Telophase - II
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งจะได้ 4 เซลล์ที่มีโครโมโซมเซลล์ละ n (Haploid) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น และเซลล์ที่ได้เป็นผลลัพธ์ ไม่จำเป็นต้ีองมีขนาดเท่ากัน
ขั้นตอนต่างๆในไมโอซิส
ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นเชลล์พืชและเชลล์สัตว์ สามารถเข้าไปดูทีเว็บไซค์http://student.nu.ac.th/phitsanu_edu/cell_animal.htm#top
เรื่องที่ ๒ เรื่องพันธุกรรม
Gen(ยีน)เป็นหน่อยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมมีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัดทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน มีอยู่ ๒ ลักษณะ
คือ ๑.ยีนเด่น คือยีนที่มีลักษณะนั้น ๆออกมาแม้มีเพียงยีนเดียว ๒.ยีนด้อย จะแสดงลักษณะที่ปรากฎออกมา มียีนด้อยทั้ง ๒ ยีนอยู่บนโครโมโซม ในร่างกายมนุษย์ มีแท่งโครโมโซม ทั้งหมด ๒๓ แท่ง ๔๖ คู่

ยีนและโครโมโซม


ยีน

ยีน (gene) คือ หน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม (chromosome) มีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน ในคนจะมียีนประมาณ 50,000 ยีน แต่ละยีนจะควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมบางอย่างมี 2 ชนิด คือ

1. ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงลักษณะนั้นๆ ออกมาได้ แม้มียีนนั้นเพียงยีนเดียว
2. ยีนด้อย (recessive gene) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ ก็ต่อเมื่อมียีนด้อยทั้งสองยีนอยู่บนคู่โครโมโซม
จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต มีจำนวนโครโมโซมที่คงที่และเท่ากันเสมอ ถ้าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีจำนวนโครโมโซมที่แตกต่างกัน จำนวนโครโมโซมในเซลล์ร่างกายและโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์จะแตกต่างกัน โดยโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์จะมีเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์ร่างกาย
การศึกษาจำนวนและรูปร่างโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต เช่น คน ทำโดยนำเซลล์ร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดมาศึกษา และนำมาถ่ายภาพของโครโมโซม จากนั้นจึงนำภาพถ่ายโครโมโซมมาจัดเรียงตามรูปร่าง ลักษณะ และขนาด โดยนำโครโมโซมที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกันและขนาดใกล้เคียงกันมาจัดไว้ในคู่เดียวกัน


ในคนมีโครโมโซม 46 แท่ง จัดได้ 23 คู่ แบ่งเป็นออโทโซม ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันในเพศชายและเพศหญิงจำนวน 22 คู่ ส่วนคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซมเพศ มีลักษณะต่างกัน

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

งานครั้งที่ 4

หน่วยที่ ๒ รักชีวิตรักสิ่งแวดล้อม


แบบประเมินผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

คำชี้แจง : ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. ให้นักศึกษาจำแนกประเภทของขยะ มีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

๒. ให้นักศึกษาหาสาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศ

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

๓. ให้นักศึกษาอธิบายแนวทางป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศ

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

๔. ให้นักศึกษาหาสาเหตุของการเกิดปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

๕. ให้นักศึกษาหาอธิบายสาเหตุของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด


เฉลย   หน่วยที่ ๒ รักชีวิตรักสิ่งแวดล้อม

แบบประเมินผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๑. ตอบ มี ๓ประเภท คือ ๑. ขยะแห้ง ๒. ขยะเปียก ๓. ขยะเป็นพิษ
๒. ตอบ ๑. ควันพิษจากโรงงาน / การเผาไหม้ / ท่อไอเสีย

๒. กลิ่นเน่าเหม็นจากสิ่งปฏิกูลต่างๆ

๓. ตอบ ๑. ลดการเผาไหม้ที่ทำกิน เปลี่ยนเป็นการฝังกลบ

๒. แยกประเภทขยะก่อนทิ้ง

๓. ลดควันพิษจากท่อไอเสียโดยไม่ใช้น้ำมันที่มีสารตะกั่ว

๔. ตอบ ๑. ทิ้งเศษอาหารลงในแม่น้ำลำคลอง

๒. น้ำเสียจากครัวเรือน / โรงงาน ไม่ได้รับการบำบัดก่อนทิ้ง

๕. ตอบ เกิดจากมนุษย์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการตัดไม้ทำลายป่า การเผาสิ่งต่างๆ และการใช้สารเคมี

สรุปความรู้เรื่องการจัดการขยะ ครั้งที่ 4 วันที่ 4 ธันวาคม 54

ใบความรู้ ที่ ๑ เรื่อง การจัดการขยะ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานฉบับ พ.ศ. 2525 กล่าวว่า มูลฝอย หมายถึง เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว หยากเยื่อ
ขยะ  หมายถึง หยากเยื่อ มูลฝอย

พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความ  มูลฝอย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องการ ที่เป็นของแข็งหรืออ่อน มีความชื้น ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะกล่องใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงวัตถุอื่น สิ่งใดที่เก็บกวาดได้จากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความของคำว่า

ของเสีย หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซ

ในทางวิชาการจะใช้คำว่า ขยะมูลฝอย ซึ่งหมายถึง บรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของแข็ง จะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึง เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละออง และเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสถานที่สาธารณะ ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ และปัสสาวะของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูล วิธีจัดเก็บและกำจัดแตกต่างไปจากวิธีการจัดขยะมูลฝอย
ประเภทของขยะมูลฝอย
จำแนกประเภทได้ดังนี้

1. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ เช่น เศษไม้, ใบหญ้า, พลาสติก, กระดาษ, ผ้า, สิ่งทอ, ยาง ฯลฯ

2. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ไม่ได้ ได้แก่ เศษโลหะ เหล็ก แก้ว กระเบื้อง เปลือกหอย หิน ฯลฯ

3. ขยะมูลฝอยที่ไม่เป็นพิษหรือขยะมูลฝอยทั่วไป ได้แก่ ขยะมูลฝอยที่เกิดจากบ้านเรือน ร้านค้า เช่น พวกเศษอาหาร กระดาษ พลาสติก เปลือกและใบไม้ เป็นต้น

4. ขยะมูลฝอยที่เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตมนุษย์ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้แก่ ของเสียที่มีส่วนประกอบของสารอันตรายหรือของเสียที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือติดไฟง่าย หรือมีเชื้อโรค ติดต่อปะปนอยู่ เช่น ซากถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ กาก สารเคมี สำลี และ ผ้าพันแผลจากโรงพยาบาล

ประเภทของขยะมูลฝอย ที่สำนักรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร กล่าวไว้มี 3 ประเภทใหญ่คือ

1. มูลฝอยเปียก ได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษพืชผัก เปลือกผลไม้ อินทรีย์วัตถุที่สามารถย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย มีความชื้นสูง และส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว

2. มูลฝอยแห้ง ได้แก่ พวกเศษกระดาษ เศษผ้า แก้ว โลหะ ไม้ พลาสติก ยาง ฯลฯ ขยะมูลฝอย ชนิดนี้จะมีทั้งที่เผาไหม้ได้และเผาไหม้ไม่ได้ ขยะแห้ง เป็นขยะมูลฝอยที่สามารถเลือกวัสดุที่ยังมีประโยชน์ กลับมาใช้ได้อีก โดยการทำคัดแยกมูลฝอยก่อนนำทิ้งซึ่งจะช่วยให้สามารถลดปริมาณมูลฝอยที่จะต้องนำไปทำลายลงได้ และถ้านำส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้นี้ไปขายก็จะทำรายได้กลับคืนมา

3. ขยะมูลฝอยอันตราย มูลฝอยนี้ ได้แก่ ของเสียที่เป็นพิษ มีฤทธิ์กัดกร่อนและระเบิดได้ง่าย ต้องใช้กรรมวิธีในการทำลายเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีอันตราย เช่น สารฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ รถยนต์ หลอดไฟ สเปรย์ฉีดผม ฯลฯ

แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย

แหล่งชุมชน กิจกรรมอุตสาหกรรม และกิจกรรมเกษตร จัดได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอยที่สำคัญ เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นขยะมูลฝอยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ประกอบกับมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งทำให้มีขยะมูลฝอยใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ขยะมูลฝอยเหล่านี้มีทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปและของเสียอันตราย แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน
R. 1 ( Reduce ) เป็นการลดปริมาณมูลฝอยที่อาจเกิดขึ้น เช่น ใช้ตะกร้าใส่ของแทนถุงพลาสติก การลดปริมาณวัสดุ ( Reduce material volume ) เป็นการพยายามเลือกใช้สินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่แทนบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่จะกลายเป็นขยะมูลฝอย การลดความเป็นพิษ ( Reduced toxicit ) เป็นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
R. 2 ( Reuse ) นำขยะมูลฝอยเศษวัสดุมาใช้ใหม่อีกหรือเป็นการใช้ซ้ำ ใช้แล้วใช้อีก ๆ เช่น ขวดน้ำหวาน นำมาบรรจุน้ำดื่ม ขวดกาแฟที่หมดแล้ว นำมาใส่น้ำตาล การนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ( Product reuse ) เป็นการพยายามใช้สิ่งของต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนที่จะทิ้งหรือเลือกใช้ของใหม่
R. 3 ( Repair ) การนำมาแก้ไข นำวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งจะทิ้งเป็นมูลฝอยมาซ่อมแซมใช้ใหม่ เช่น เก้าอี้
 R. 4 ( Recycle )การหมุนเวียนกลับมาใช้ นำขยะมาแปรรูป ตามกระบวนการของแต่ละประเภท เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิมแล้วนำมาใช้ใหม่ เช่น พลาสติก กระดาษ ขวด โลหะต่าง ๆ ฯลฯ นำมาหลอมใหม่ นำยางรถยนต์ที่ใช้ไม่ได้แล้วมาทำรองเท้า นำแก้วแตกมาหลอมผลิตเป็นแก้วหรือกระจกใหม่ การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ( Material recycling ) เป็นการนำวัสดุมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่

R. 5 ( Reject ) การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น โฟม ปฏิเสธการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก หลีกเลี่ยงการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มอบหมายงานคร้งที่๓

นำเสนอนิทรรศการเค้าโครงานการทำโครงงาน พร้อมเสนอแนวคิด และตอบข้อสงสัย ในวันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม ๕๔ เวลา ๑๓.๐๐น ณ ห้องสมุดชุมชนวัดแคนางเลิ้ง(วัดสุนทรธรรมมาทาน)

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาการเรียนครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๗ พ.ย.๕๔

ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้าสู่ความรู้ใหม่ในเรื่อง การทำโครงงาน โครงงานมี ทั้งจำแนกได้ ๔ ประเภท ประกอบด้วย ๑,โครงงานประเภทสำรวจ ๒.โครงานประเภททดลอง ๓.โครงงานประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์ ๔. โครงงานประเภทแนวคิดทฤษฎี โดยได้โพสไว้ที่บทความก่อนหน้านี้แล้ว โดยครูได้นำแนวทางปรัชญาการคิดเป็น โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษา กลุ่มละ ๕ คน เพือทำโครงงาน โดยใช้ข้อมูลประกอบ ๓ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ๑.ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง ๒.ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ ๓.ข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ผู้็คุณรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นจุดสำคัญของกระบวนการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหาเพื่อจุดมุ่งหมายคือความสุข โดยการแบ่งกลุ่มแล้ววิเคราะห์ โดยใช้แบบประเมินเพื่อเลือกโครงงานตามความถนัดและความสนใจ ครูเป็นเพียงผู้ที่แนะนำและอำนวยความสะดวกแต่ไม่ได้ชี้นำ พร้อมนำเสนอแนวคิดผ่านนิทรรศการและให้นำเสนอในสัปดาห์ต่อไป
งานที่ได้มอบหมาย คือทำแบบบันทึกการเรียนรู้วิชา เศรษฐกิจพอเพียง และวิชาทักษะการเรียนรู้ ซึ่งครูได้เตรียมไปไว้แล้ว
สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้มาพบกลุ่มให้นักศึกษา หากลุ่มเพื่อร่วมกิจกรรม และรับงานที่มอบหมาย

เฉลยกิจกรรม ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๗ พ.ย.๕๔

ให้พิจารณาชื่อโครงงานต่อไปนี้ แล้วตอบว่าเป็นโครงงานประเภทใด
๑,แปรงลบกระดานไร้ฝุ่น เป็น
 โครงงานประเภท สิ่งประดิษฐ์
๒.ยาขัดร้องเท้าจากเปลือกมังคุด
 เป็นโครงงานประเภท ประดิษฐ์หรือพัฒนา
๓.พฤติกรรมการลองผิดลองผิดลองถูกของนกพิราบ
  เป็นโครงงานประเภท ทดลอง
๔.บ้านยุคนิวเคลียร์
 เป็นโครงงานประเภท ทฤษฎี
๕,การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นโครงงานประเภท สำรวจ
๖.การศึกษาวงจรชีวิต ของตัวด้วง
 เป็นโครงงานประเภท สำรวจ

๒,ให้นักศึกษาความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่ามีความสำคัญอย่างไร
ตอบ โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้า ที่ผุู้เรียนต้องดำเนินการเองทั้งหมด โครงงานวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รู้จักการใช้เหตุผล มีการค้นคว้าทดลองรู้จักแก้ปัญหาเป็นการศึกษาเรียนรู้โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชาการพัฒนาตนเองชุมชน และสังคม สค31003





สำหรับนักศึกษาที่เทียบโอนนะ ที่มีรายชื่อต่อไปนี้
1.นายกฤษณชัย หงษ์ทอง
2.นางสาวปนัดดา กิตติรุ่งโรจน์
3.นางสาวเสาวลักษณ์ ภูมิโคกรักษ์
4.นางสาวรัตใจ พิมายนอก
5.นายธนธนฐ์ สิงห์โต
ให้นักศึกษาที่มีชื่อทั้งหมด ปลิ้นแล้วรวบรมมาส่ง ให้นักศึกษาไปค้นคว่าจากินเตอร์เน็ตตามชื่อเรื่อง
บทความล่าสุด

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงงานวิทยาศาสตร์

    โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมเกียวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ เป็นกิจกรรมที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า โดยผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินงานเอง ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล จนถึงการแปลผล สรุปผลและเสนอผลการศึกษา โดยผู้ชำนาญการเป็นผู้ให้คำปรึกษา
ลักษณะและประเภทของโครงงานทางวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๑. โครงงานประเภทสำรวจ เป็นโครงงานลักษณะการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาจัดทำและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ โครงงานประเภทนี้จะไม่มีการจัดทำหรือกำหนดตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษา
๒. โครงงานประเภททดลอง เป็นกิจกรรมที่มีการศึกษาหาคำตอบของปัญหาด้วยวิธีการทดลอง ลักษณะสำคัญของโครงงานนี้คือ ต้องออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลองเพื่อหาคำตอบเพื่อต้องการทราบหรือตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยมีการกระทำกับตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆที่ไม่ต้องศึกษา
๓. โครงงานประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่มีลักษณะกิจกรรมเกี่ยวกับการประยุกต์หรือทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ
อาจจะประดิษฐ์ใหม่หรือพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวคิด
๔. โครงงานประเภททฤษฏี เป็นโครงงานที่มัลักษณะกิจกรรมที่ผู้ทำต้องเสนอแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีใหม่ ๆ อย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ในรูปแบบสูตรสมการหรือคำอธิบายอาจจะเป็นแนวคิดใหม่ๆที่ยังไม่เคยเสนอที่ใดมาก่อน หรืออธิบายปรากฏการณ์แนวใหม่ก้ได้ ลักษณะที่สำคัญของโครงงานประเภทนี้ คือ ผู้ที่จัดทำต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี ต้องศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งจึงจะสามารถสร้างคำอธิบายหรือทฤษฎีได้

คำถาม นักศึกษาคิดว่าจะเลือกกำหนดโครงงานประเภทไหนดีครับ
จงตอบคำถามข้างล่างนี้ ที่ช่องแสดงความคิดเห็น
๑.โครงงานวิทยาศาสตร์ คืออะไร
    ก  ธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ที่ต้องทำ   ข  การวิจัยเล็ก ๆ เรื่องใด เรื่องหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์
๒.โครงงานวิทยาศาสตร์มีกี่ประเภท
     ก  ๓ ประเภท                              ข  ๔ ประเภท
๓.โครงงานวิทยาศาสตณแบบใด เหมาะสำหรับนักศึกษา ม.ปลาย
    ก โครงงานประเภททดลอง         ข โครงงานประเภทสำรวจ
๔.ขั้นตอนใดที่ไม่จำเป็นต้องมีในโรงงานประเภทสำรวจ
  
    ก.ตั้งปัญหา    ข.สมมุติฐาน
๕.โครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องสมบูรณ์ต้องเป็นอย่างไร
    ก ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์     ข. ใช้วิธีค้นคว้าจากห้องสมุด
๖.ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือต้องเป็นอย่างไร
    ก สรุปผลที่ชัดเจนด้วยตัวเอง      ข  ทำซ้ำกันหลาย ๆครั้งและผลเหมือนเดิมทุกครั้ง

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา ครั้งที่ 2

สรุปเนื้อหา การพบกลุ่มครั้งที่ 2 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2554


ปรับพื้นฐาน วิทยาศาสตร์

ครูพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนในเรื่องสถานการน้ำ ส่งผลกระทบกันอย่างไร ให้นักศึกษาร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูล และเขียนแผนที่ความคิด สถานการน้ำในปัจจุบัน เชื่อมโยงสู่วิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง สารและสถานะของสาร กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด ขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดปัญหา 2. การตั้งสมมุติฐานในแต่ละปัญหา 3. ออกแบบการทดลอง โดยการควบคุมตัวแปร 4. ทำการทดลอง โดยจัดการกระทำควบคุมตัวแปรที่กำหนด 5.แปลผลและสรุปผลการทดลอง

2. บุคคลที่มีคุณสมบัติมีจิตวิทยาศาสตร์ หรือเจตคดิทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ คือ

2.1 เป็นคนมีเหตุผล

2.2 เป็นคนอยากรู้อยากเห็น

2.3 เป็นคนใจกว้าง รับฟังความเห็นผู้อื่น

2.4 มีความชื่อสัตย์ใจเป็นกลาง รับฟังความคิดความเห็นแก่ผู้อื่น

2.5 มีความมานะพยายาม มีความแน่วแน่ตั้งใจใฝ่ความสำเร็จ

2.6 มีความละเอียดรอบคอบ ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ไม่เชื่อในสิ่งที่ยังไม่มีการพิสูจน์

3. ให้นักศึกษาระดมสมอง การคิดเชิงวิเคราะห์ การเขียนมาแมปปิ้ง เรื่อง สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ 1. ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น 2. สาเหตุที่เกิดน้ำท่วม 3. แนวทางการแก้ปัญหา 4. วิธีการป้องกันน้ำท่วม

3.1 ให้สำนวนไทย หรือสุภาษิตเกี่ยวกับน้ำเช่น ,น้ำนิ่ง ไหลลึก ,น้ำลดตอผุด ,น้ำตาลใกล้มด ,น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา ,น้ำท่วมปาก ,น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ่งโหรงเหรง ฯลฯ

3.2 หาวรรณคดี หรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเกี่ยวกับน้ำมาอย่างน้อย 2 เรื่อง ได้แก่ 1.ไกรทอง 2. เพลงน้ำท่วม 3. อิเหนา 4. เพลงเรือ 5. กาพย์เห่เรือ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมอบงานให้นักศึกษาไปค้นคว้า โดยหาจากแหล่งเรียนรู้ที่ครูจัดทำให้ เช่น blog nawee_innovationโดยให้นักศึกษาสืบค้นและให้ข้อคิดเห็น เพื่อทราบความเคลื่อนไหว หรือจากแหล่งอื่น ๆตามต้องการ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครูมืออาชีพ ครูหัดบิน ครูกอบวิทย์



บทความล่าสุด
ใบความรู้ เรื่องการคิดเป็น


คิดเป็น

แนวความคิดเรื่องคิดเป็นมีองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงปรัชญา 3 ส่วน กล่าวคือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ คือ ความสุข มนุษย์จึงแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่ความสุขนั้น แต่เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานทั้งทางกายภาพ อารมณ์ สังคม จิตใจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ความต้องการของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การให้คุณค่าและความหมายของความสุขของมนุษย์จึงแตกต่างกัน การแสวงหาความสุขที่แตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนแต่ละคน การตัดสินใจนั้น จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งโดยหลักการของการคิดเป็น มนุษย์ควรจะใช้ข้อมูลอย่างน้อย 3 ด้าน คือ ข้อมูลตนเอง ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางด้านกายภาพ สุขภาพอนามัยความพร้อมต่าง ๆ ข้อมูลสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมตลอดจนกรอบคุณธรรม จริยธรรม และข้อมูลทางวิชาการ คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องคิด ตัดสินใจนั้น ๆ ว่ามีหรือไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้หรือไม่ การใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านนี้จะช่วยให้การคิดตัดสินใจเพื่อแสวงหาความสุขของมนุษย์เป็นไปอย่างรอบคอบ เรียกวิธีการคิดตัดสินใจนี้ว่า “คิดเป็น” และเป็นความคิดที่มีพลวัต คือ ปรับเปลี่ยนได้เสมอ เมื่อข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนไป

กระบวนการคิดเป็น

กระบวนการคิดเป็นอาจจำแนกให้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นกระบวนการคิดได้ ดังนี้(สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน.2547:31-32)

ขั้นที่ 1 การระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

ขั้นที่ 2 การศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์นั้น ๆ โดยจำแนกข้อมูลออกเป็น 3 ประเภท คือ

ข้อมูลสังคม : ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวปัญหา สภาพสังคมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและสังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น

ข้อมูลตนเอง : ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ เป็นข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ความพร้อมทั้งทางอารมณ์ จิตใจ เป็นต้น

ข้อมูลทางวิชาการ : ได้แก่ข้อมูลด้านความรู้ในเชิงวิชาการที่จะช่วยสนับสนุนในการคิดการดำเนินงาน

ขั้นที่ 3 การสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน เข้ามาช่วยในการคิดหาทางแก้ปัญหาภายในกรอบแห่งคุณธรรม ประเด็นเด่นของขั้นตอนนี้คือระดับของการตัดสินใจที่จะแตกต่างกันไปแต่ละคนอันเป็นผลเนื่องมาจากข้อมูลในขั้นที่ 2 ความแตกต่างของการตัดสินใจดังกล่าว มุ่งไปเพื่อความสุขของแต่ละคน

ขั้นที่ 4 การตัดสินใจ เป็นขั้นตอนสำคัญของแต่ละคนในการเลือกวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าผลของการตัดสินใจนั้นพอใจหรือไม่ หากไม่พอใจก็ต้องทบทวนใหม่

ขั้นที่ 5 เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้คิดและตัดสินใจแล้ว



ใบงานที่ 1

วิชา ทักษะการเรียนรู้(ทร 31001) ระดับ ม.ปลาย

คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามให้มีความหมายที่สมบูรณ์

1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึงอะไร และมีความสำคัญ และกระบวนการอย่างไร.........................................................................................................................

2. จงอธิบายปัจจัยที่ทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองประสบความสำเร็จ..............................................................................................................

ใบงานที่ 2
วิชา ทักษะการเรียนรู้(ทร 31001) ระดับ ม.ปลาย

คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามให้มีความหมายที่สมบูรณ์

1. แหล่งเรียนรู้ หมายถึง .............................................................................................................

........................................................................................................................................................

2. มีความสำคัญอย่างไร ..............................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

3. แหล่งเรียนรู้ มีกี่.............ประเภท อะไรบ้าง ..............

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4. ให้นักศึกษาอิบายข้อดี ข้อเสียของแหล่งเรียนรู้ อย่างน้อย 5ข้อ

ใบงานที่ 3
วิชา ทักษะการเรียนรู้(ทร 31001) ระดับ ม.ปลาย


คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามให้มีความหมายที่สมบูรณ์

1. การจัดการความรู้ หมายถึง อะไร....................................................................................................

...........................................................................................................................................................
2. จงอธิบายการจัดการความรู้ด้วยตนเอง มีอย่างไรบ้าง

..........................................................................................................................................................

3. อธิบายการรมกลุ่มต่อยอดความรู้ มีประโยชน์อย่างไร

..........................................................................................................................................................
ภาระงานที่ 1


เรื่อง การแก้ปัญหาชุมชน 10 คะแนน

คำสั่ง ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม 5- 7 คน ร่วมกันจัดนิทรรศการ เผยแพร่ผลงานของบุคคล ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการนำหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมาใช้ แล้วนำเสนอต่อกลุ่มในการพบกลุ่มครั้งต่อไป

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ใบความรู้ที่ 1
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี








การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด


การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น http://th.wikipedia.org/wiki

การถ่ายทอดความรู้การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กระจายอย่างกว้างขวางใน ศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki

ใบงาน ครั้งที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง

ให้นักศึกษาทำใบงานแล้วแล้วนำมาส่ง
 วิชา เศรษฐกิจพอเพียง ทช.31001 ระดับมปลาย จำนวน 4 ชั่วโมง


คำสั่ง ให้ตอบคำถามข้างล่างให้สมบูรณ์

1. เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึง...................................................................

2. หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย .........................................................................

และ 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย...............................................................................................................

3. การจัดการความรู้ หมายถึง ...............................................................................................................
4.จงเขียนภาพหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบ



วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

มูลเหตุสำคัญที่วัยรุ่นติดยา

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 กันยายน 2554 กล่าวถึงสาเหตุสำคัญที่ชักนำวัยรุ่นติดยา ได้แก่
1. การถูกชักชวน อาจจะมาจากเพื่อนสนิทที่กำลังติดยา และอยากให้เพื่อนลองบ้าง และการกล่าวถึงคุณภาพยา เช่น เสพแล้วทำให้อ่านหนังสือมากกว่าเดิม สมองปลอดโปร่ง จนทำให้เกิดการติดยาได้
2. เกิดจากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากรู้รสชาติ อยากสัมผัส โดยคิดไปว่าไม่ติดง่าย ๆ
เมื่อทดลองไปแล้วติด และต้องการมากขึ้น เช่นเฮโลอีน จะติดง่ายแม้เสพเพียงน้อยนิด
3. การถูกหลอกลวง ปัจจุบันยาเสพติดมีรูปร่างที่เเปรเปลี่ยน สีสันทีเปลี่ยนไป จนผู้เสพไม่ทราบว่าที่เสพไปนั้นเป็นยาเสพติดให้โทษ คิดว่าเป็นยาธรรมดาตามที่ผู้หลอกลวงแนะนำ ผลสุดท้ายก็ติดยาเสพติดไป
4. เหตุทางกาย ความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่นต้องผ่าตัดเป็นโรคปวดศรีษะ เป็นหอบหืด ได้รับความทรมานทางกายจนต้องการบรรเทา พยายามรักษาทุกทางไม่ได้ผล จึงหันหายาเสพติดในที่สุด
5. เกิดจากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้มีความเชื่อมัน มั่นใจตัวเองว่า เสพแล้วจะไม่ทำให้ติดได้ และอวดว่าเป็นคนเก่ง อวดเพื่อนขาดความยั้งคิด หลงผิดทำให้ติดยา
6. สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลที่สำคัญในการตัดสินใจของผู้ติดยา เช่นแหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด เป็นแหล่งค้าขาย อบายมุข และอาจจะทำให้เกิดปัญหาคับข้องใจ ทำให้หันไปพึ่งพายาเสพติด ทำให้ติดในที่สุด
นั้นคือสาเหตุหลัก 6 ประการแต่อาจจะมีสาเหตุอื่น ๆที่มากมาย ทั้งนี้ เรามีความรู้เรื่องของพิษภัยของยาเสพติด เราควรให้ความรู้ความเข้าใจให้กับบุตรหลาน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการหันหายาเสพติด การใช้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและป้องปราม โดยใช้กิจกรรมทีหลากหลาย รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลูกหลานบ้านใดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรช่วยเหลือกัน ให้คำแนะนำที่ที่ให้ความรักซึ่งกันและกัน ยาเสพติดอาจจะห่างไกลตัวเราและคนใกล้ชิดนะครับ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาทักษะการคิดคำนวน เรื่องทศนิยม ด้วยบัญชีครัวเรือน

หัวข้อการวิจัย การพัฒนาทักษะการคำนวณ การบวกลบ เศษส่วน โดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน


ของนักศึกษา กศน. ระดับประถมศึกษา


ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ การบวก ลบเศษส่วน โดยใช้บัญชีครัวเรือน


ผู้วิจัย นายนาวี แก้วประไพ ครูผู้ช่วยสำนักงาน กศน.กทม.


สภาพปัญหา การเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา กศน.ระดับประถมศึกษา ยังขาดความสามรถในการคำนวณ การบวก ลบ ทศนิยม เศษส่วน เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว การทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องที่นักศึกษาใช้ในการดำเนินชีวิต ในประจำวัน โดยนักศึกษาต้องจดบันทึกด้วยตนเองเป็นการบูรณาการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี



ปัญหาการวิจัย นักศึกษาในระดับประถมศึกษา กศน. ไม่มีเวลาที่จะทบทวนบทเรียน จึงไม่สามารถคิดคำนวณ เรื่องการบวก ลบ ทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

จุดประสงค์ เพื่อให้นักศึกษา พัฒนาทักษะในการคิดคำนวณ เรื่อง การบวก ลบทศนิยมได้

เพื่อให้นักศึกษามีผลการเรียน เรื่องทศนิยมได้สูงขึ้น
นิยามศัพท์เฉพาะ

บัญชีครัวเรือน หมายถึง สมุดบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวันของนักศึกษาและครอบครัวของนักศึกษา กศน.ระดับประถมศึกษา

แบบทดสอบ หมายถึง แบบทดสอบเรื่อง การบวก การลบ ทศนิยมที่ครู สร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ ด้านการวัดผลประเมินผล

ทักษะในการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการคิดคำนวณ เรื่องการบวก ลบ ทศนิมได้อย่างถูกต้อง

ตัวแปรที่ต้องศึกษา

ตัวแปรต้น แบบจดบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวันของนักศึกษา และครอบครัว

ตัวแปรตาม ความสามารถในการคิดคำนวณ เรื่องการบวก การลบทศนิยม ได้อย่างถูกต้อง

ตัวแปรอิสระ ระเบียบวินัยที่นักศึกษาจะจดบันทึกเป็นประจำ


ขอบเขตการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับประถมศึกษา ที่มีผลการสอบเก็บคะแนนต่ำจำนวน 15 คน

ระยะเวลาสัปดาห์ที่ 1- 2 ของเดือน กุมภาพันธ์ 2554



วิธีดำเนินการวิจัย

ศึกษาเอกสาร/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

สร้างเครื่องในการวิจัย

นำเครื่องมือทดลองใช้

รายงานผลการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้

แบบทดสอบ ก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง การบวก การลบ เศษส่วน

แบบบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน จำนวน 14 วัน


การเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบบันทึกรายรับ รายจ่ายของนักศึกษา จำนวน 14 วัน

เปรียบเทียบผล คะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ


การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ระหว่างผลสอบก่อนและหลัง โดยใช้ค่า เฉลี่ยคณิตศาสตร์

วิเคราะห์ความก้าวหน้าของผลการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน