วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเกิดการเรียนรู้เรื่องนวัตกรรม

หน้าแรก


สมาชิก
1.นายนาวี  แก้วประไพ
2. นางสาวนฤมล ทิพยเดช
3.นางสริยาภรณ์ ชูพลสัตย์
4.นายเอกพล  จำปาทอง
5. นายพิศวัตร์ นนทสิทธิชัย

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทความนวัตกรรมการศึกษาทางไกล

นวัตกรรมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
การศึกษาทางในรูปแบบที่ผู้เรียนและผู้สอนทำกิจกรรมโดยที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่กันคนละที่ โดยผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม อินเทอร์เน็ท ทางไปรษณีย์ ฯลฯในรูปแบบสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันระบบการสื่อสาร สองทาง เพื่อตอบสนองข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง เวลาที่อาจจะไม่ตรงกัน การศึกษาทางไกลสามารถแก้ปัญหาดังที่กล่าวมา
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
1. ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน การเรียนการสอนทางไกล เป็นรูปแบบการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนอยู่ห่างไกลกัน มีโอกาสพบปะหรือได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรงต่อหน้าน้อยกว่าการ ศึกษาตามปกติ การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนอกจากจะกระทำโดยผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว การ ติดต่อสื่อสารโดยตรงจะเป็นไปในรูปของการเขียนจดหมายโต้ตอบกัน มากกว่าการพบกันเฉพาะหน้า
2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะมีอิสระใน การเลือกในการเรียน
หลักการของการศึกษาทางไกล
1. การศึกษาตลอดชีวิต
2. การให้โอกาสท่าเทียมกันทางการศึกษา

3. ส่งเสริมการศึกษามวลชน
ระบบการสื่อสารในการสอนทางไกล การสื่อสารในการศึกษาทางไกลจะใช้การสื่อสารทางเดียวและสองทางด้วยสื่อต่างๆ ดังนี้ การสื่อสารทางเดียว เป็นการสื่อสารที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่มีการโต้ตอบกันทันที ผู้เรียนจะต้องมีการตอบสนองไปยังผู้สอนภายหลังจากที่ได้บทเรียนนั้นไปแล้ว      เช่นการใช้สื่อมวลชนได้แก่ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
     การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ บน Internet แบบไม่ประสานเวลาโดย การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้สอนและผู้เรียนมีการโต้ตอบกันทันทีในระหว่างการเรียนการสอน แบ่งได้ 2 รูปแบบ
1.การใช้ระบบคมนาคมในลักษณะการประชุมทางไกล(Teleconference) สามารถใช้เฉพาะเสียงก็ได้ หรืออาจจะมีทั้งภาพและเสียงก็ได้เช่นกัน
2. การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในลักษณะห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) อาจะมีการโต้ตอบกันโดยทันทีระหว่างผู้เรียน และผู้สอน ด้วยการสนทนาสด หรือ การพิมพ์
ข้อดีของการศึกษาทางไกล
1) ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ
2) สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก
3) ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบของตนเองได้
4) ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ
ข้อเสียของการศึกษาทางไกล
1. ต้องเรียนให้ทันกับเวลาออกอากาศ ในกรณีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
2.วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งยุ่งยาก
3. ต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้อุปกรณ์ เช่น เรียนผ่าน อินเทอร์เน็ท
สื่อและวิธีการศึกษาทางไกล
 สื่อหลัก คือสื่อที่ผู้เรียนใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองตลอดเวลาและทุกสถานที่ เช่น ตำรา

เอกสารคำสอน หรือคู่มือเรียน
 สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้มีความรู้สมบูรณ์ขึ้น ในกรณีที่ผู้เรียนศึกษาจากสื่อหลักแล้วยังไม่เข้าใจก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริมได้ สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทปสรุปบทเรียน วิทยุ เอกสารเสริม การสอนเสริมหรือการพบกลุ่ม เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
     นวัตกรรมแต่ละประเภท ควรใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ใช้ต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอนเพราะต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนต้องมีการทดสอบและ ศึกษาหลักสูตรและวิธีการมาก่อนล่วงหน้าเพื่อป้องกันการผิดพลาด แต่นวัตกรรมที่กล่าวถึงข้างต้นล้วนแต่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น การเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ โดยมีคู่มือการใช้ และครูที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ผู้เรียนสามารถไปศึกษาได้โดยมีเครื่องรับสัญญาณซึ่งปัจจุบันราคาไม่แพงหาติดตั้งง่ายและยังมีแบบพกพาอีกด้วย
   ส่วนนวัตกรรมประเภทเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ หรือ การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning) ก็มีข้อจำกัด เช่น ต้องมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ ในการสืบค้นและทำบทเรียนที่ผู้จัดทำระบบสร้างขึ้นผู้ใช้ต้องได้รับการดูแลจากผู้ใหญ่โดยเฉพาะเยาวชนอาจใช้ไปในทางที่ผิดได้ ในปัจจุบันผู้ปกครองเป็นจำนวนมากที่ยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้นวัตกรรมประเภทนี้ควรเป็นมีวุฒิภาวะ เช่นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเป็นวิชาที่มีบทเรียนไม่ซับซ้อนนัก
อย่างไรก้อตาม นวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ผ่านช่องทางต่างๆ ล้วนแต่มีประโยชน์มากกว่าโทษ ขึ้นอยู่ที่ผู้ใช้จะนำสื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเลือกนวัตกรรมให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้น 
เอกสารอ้างอิง                      
www.elearningshowcase.com การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Learning)



อรรคเดช โสสองชั้น นวัตกรรมทางการศึกษา


th.wikipedia.org ความหมายของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


th.wikipedia.org หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล


www.dlf.ac.th สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


กิดานันท์ มลิทอง รศ.ดร. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา


www.digitalandnetwork.com การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


edltv.thai.net/index.php?mod=Message&op=aboutus) หลักสำคัญของการเรียนทางไกล


                                              


                                                                                    

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จบการนำเสนอ

จบสักทีครับ

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide16 โครงสร้างการจัดการศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide15 ข้อจำกัด

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide14 ข้อดี





























การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide 13การศึกษาทางไกลในประเทศไทย 

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide12สื่อและวิธีการจัดการศึกษา

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


slide11สื่อที่ใช้ในการจัดการศึกษา

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide10 หลักการของการศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


slide9 ปรัชญาการศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide7 การจัดการศึกษา
slide7 ก

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

slide 6 ประวัติความเป็นมา
slide 5 นักวิชาการให้ความหมาย










slide 4 แนวคิดการศึกษาทางไกล