วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาทักษะการคิดคำนวน เรื่องทศนิยม ด้วยบัญชีครัวเรือน

หัวข้อการวิจัย การพัฒนาทักษะการคำนวณ การบวกลบ เศษส่วน โดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน


ของนักศึกษา กศน. ระดับประถมศึกษา


ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ การบวก ลบเศษส่วน โดยใช้บัญชีครัวเรือน


ผู้วิจัย นายนาวี แก้วประไพ ครูผู้ช่วยสำนักงาน กศน.กทม.


สภาพปัญหา การเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา กศน.ระดับประถมศึกษา ยังขาดความสามรถในการคำนวณ การบวก ลบ ทศนิยม เศษส่วน เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว การทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องที่นักศึกษาใช้ในการดำเนินชีวิต ในประจำวัน โดยนักศึกษาต้องจดบันทึกด้วยตนเองเป็นการบูรณาการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี



ปัญหาการวิจัย นักศึกษาในระดับประถมศึกษา กศน. ไม่มีเวลาที่จะทบทวนบทเรียน จึงไม่สามารถคิดคำนวณ เรื่องการบวก ลบ ทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

จุดประสงค์ เพื่อให้นักศึกษา พัฒนาทักษะในการคิดคำนวณ เรื่อง การบวก ลบทศนิยมได้

เพื่อให้นักศึกษามีผลการเรียน เรื่องทศนิยมได้สูงขึ้น
นิยามศัพท์เฉพาะ

บัญชีครัวเรือน หมายถึง สมุดบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวันของนักศึกษาและครอบครัวของนักศึกษา กศน.ระดับประถมศึกษา

แบบทดสอบ หมายถึง แบบทดสอบเรื่อง การบวก การลบ ทศนิยมที่ครู สร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ ด้านการวัดผลประเมินผล

ทักษะในการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการคิดคำนวณ เรื่องการบวก ลบ ทศนิมได้อย่างถูกต้อง

ตัวแปรที่ต้องศึกษา

ตัวแปรต้น แบบจดบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวันของนักศึกษา และครอบครัว

ตัวแปรตาม ความสามารถในการคิดคำนวณ เรื่องการบวก การลบทศนิยม ได้อย่างถูกต้อง

ตัวแปรอิสระ ระเบียบวินัยที่นักศึกษาจะจดบันทึกเป็นประจำ


ขอบเขตการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับประถมศึกษา ที่มีผลการสอบเก็บคะแนนต่ำจำนวน 15 คน

ระยะเวลาสัปดาห์ที่ 1- 2 ของเดือน กุมภาพันธ์ 2554



วิธีดำเนินการวิจัย

ศึกษาเอกสาร/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

สร้างเครื่องในการวิจัย

นำเครื่องมือทดลองใช้

รายงานผลการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้

แบบทดสอบ ก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง การบวก การลบ เศษส่วน

แบบบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน จำนวน 14 วัน


การเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบบันทึกรายรับ รายจ่ายของนักศึกษา จำนวน 14 วัน

เปรียบเทียบผล คะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ


การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ระหว่างผลสอบก่อนและหลัง โดยใช้ค่า เฉลี่ยคณิตศาสตร์

วิเคราะห์ความก้าวหน้าของผลการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น